รู้รอบโรค

เกี่ยวกับโรคและอาการโรคต่างๆ

26 Mar 2018

ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว คำตอบที่มากกว่าแค่อารมณ์เปลี่ยนไปมา

คุณรู้สึกอารมณ์ดีมาก คึกคัก อยู่ๆ ก็มั่นใจในตนเองมากขึ้น กล้าทำในสิ่งไม่คิดว่าจะทำ พูดเร็วพูดไม่หยุด มีเรื่องที่คิดขึ้นมาได้มากมายตลอด แถมบางทียังช็อปจนหมดตัว บางทีรูดบัตรเครดิตจนเกลี้ยงเต็มวงเงิน ฟิตมาก ใครท้าอะไรก็ทำ แถมยังไม่รู้สึกง่วงไม่ค่อยจะอยากนอน หรือบางทีก็หงุดหงิดขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ มันก็น่าแปลกนะ! ที่ต่อมาคุณก็รู้สึกหดหู่ ไม่อยากรับรู้เรื่องอะไรเลย ไม่รู้สึกสนุกกับสิ่งที่เคยสนใจ กลับอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง เนือยๆ…

15 Mar 2018

ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ “โรคพิษสุนัขบ้า” โรครุนแรงที่กำลังระบาด

โรคพิษสุนัขบ้า หรืออีกชื่อคือ “โรคกลัวน้ำ” เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่ยังไม่มียารักษา มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) ซึ่งอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ แพร่สู่คนโดยการกัด ข่วน หรือเลีย และได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าทางบาดแผลหรือทางเยื่อบุต่างๆ โรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้เป็นเฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่สามารถเป็นได้ทุกฤดูกาล และเกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยสัตว์ส่วนใหญ่ที่นำเชื้อได้คือ สุนัข แมว และค้างคาว ซึ่งพบทั้งในสัตว์จรจัดและสัตว์เลี้ยง ทั้งที่ฉีดวัคซันแล้วและยังไม่ฉีดวัคซีน…

16 Feb 2018

ตรวจไฝมะเร็งเบื้องต้นด้วยตนเอง

  ผิวหนังก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายที่สามารถเกิดมะเร็งได้ และในมะเร็งทุกชนิด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ลดโอกาสการเสียชีวิต โรคมะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของเซลล์ที่กลายพันธุ์ ในที่นี่ หมอฟ้า ชลธิรศน์ แพทย์ผิวหนังประจำ See Doctor Now จะมาพูดถึง Melanoma หรือ ไฝมะเร็ง…

22 Jan 2018

ทำความรู้จักโรคลูคีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว

ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” ฟังแล้วก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะตรวจพบตอนไหนก็ฟังดูเป็นข่าวร้ายที่ไม่อยากได้ยิน หากเป็นมะเร็งที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งบางครั้งถึงกับต้องตัดอวัยวะทิ้ง แล้วถ้าหากเป็นที่ “เม็ดเลือด” จะเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจบทบาทของเม็ดเลือด ในเลือดของคนเรา นอกจากจะมีส่วนประกอบหลักที่เป็นน้ำเรียกว่าพลาสม่า ยังมีเม็ดเลือด 3 ชนิดที่ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ตรวจจับและต่อสู้กับเชื้อโรค สารพิษ รวมถึงสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย…

04 Oct 2017

การผ่าตัดเต้านมเพื่อป้องกันมะเร็ง ในความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม

ย้อนไปเมื่อปี 2556 เป็นข่าวที่ฮือฮาพอสมควร ในกรณีที่นักแสดงสาวชื่อดังแห่งฮอลลีวูด แองเจลิน่า โจลี่ เปิดเผยว่า เธอตัดสินใจผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้าง เรื่องหน้าอกถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับผู้หญิง ยิ่งโดยเฉพาะนักแสดงสาว ที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถในการแสดง และรูปลักษณ์ของตัวเอง แต่สิ่งที่ทำให้ แองเจลิน่า โจลี่ ตัดสินใจผ่าตัดในครั้งนี้ ก็เพราะเธอพบจากการตรวจพันธุกรรมว่า ตัวเองมียีนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมถึง 87% และมะเร็งรังไข่ถึง…

30 Sep 2017

รู้จักโรค อัลไซเมอร์ ภาพสะท้อนผ่านมุมมองของภาพยนตร์ Still Alice

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และพฤติกรรม อาการมักจะเริ่มจากการลืมเรื่องเล็กน้อย และมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นอาการที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการงาน เราบางคนอาจมีคนรู้จักหรือแม้แต่คนใกล้ตัวเป็นอัลไซเมอร์ และอาจตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ก็อาจนึกไม่ออกว่า โลกของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โลกภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็ได้พยายามสะท้อนภาพของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เพื่อให้คนทั่วไปมีความเข้าใจต่อโรคนี้มากขึ้น ผ่านทางภาพยนตร์เรื่อง Still Alice เรื่องของ…

28 Sep 2017

สำรวจผู้สูงอายุใกล้ตัวคุณ กับ 10 สัญญาณเตือนของโรค พาร์กินสัน

พาร์กินสัน เป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคพาร์กินสันก็สามารถเกิดในคนวัยผู้ใหญ่ที่อายุยังไม่มากก็ได้เช่นกัน โรคนี้เกิดจากการค่อยๆ เสื่อมของเซลล์ประสาทในก้านสมองส่วนกลาง ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการตายของเซลล์สมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 4-10 ปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยและคนรอบข้างก็อาจมองอาการเหล่านี้ว่า เป็นความผิดปกติของร่างกายตามอายุขัย ซึ่งแท้จริงแล้วอาจมาจากโรค พาร์กินสัน ก็ได้ครับ มีหลักฐานจากงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า การรับรู้ถึงอาการของโรคพาร์กินสันตั้งแต่เริ่มแรกส่งผลต่อการดูแลและรักษาผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นหากมีผู้สูงอายุหรือผู้ที่อายุเกิน…

27 Sep 2017

รู้ทันโรคหอบหืด ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหอบหืด หรือมีอาการหอบ ควรเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ป่วยฉุกเฉินอยู่เสมอ แม้ว่าอาจจะห่างหายจากอาการไปแล้วเป็นปีก็ตาม เพราะอาการสามารถกลับมาเป็นเมื่อไหร่ก็ได้ การรู้ทันการเกิดอาการหอบหืดเอาไว้ จะส่งผลดีกับการเตรียมการรักษาและปฐมพยาบาลตัวเองครับ อาการของโรคหอบหืด ไอติดๆ กัน รู้สึกแน่นหน้าอก หอบ หายใจดังเป็นเสียงลม ความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน ตัวอย่างเช่น มีอาการหอบเมื่อเดิน แต่เมื่อนั่งลงอาการก็หาย ในขณะที่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจไม่สามารถควบคุมได้ และอาจเป็นอันตราย ดังนั้น…

22 Sep 2017

เจอคนกำลังชักอยู่ตรงหน้า จะช่วยเหลือยังไงดี?

เรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับชีวิตเราได้เสมอ และถึงแม้การต้องเจอกับผู้ที่มีกำลังมีอาการ ชัก อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการหาความรู้เกี่ยวกับอาการนี้เอาไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ก็อาจช่วยให้เราสามารถช่วยเหลือผู้มีอาการชักได้อย่างเหมาะสม   อาการชักเป็นยังไง ก่อนอื่น เราคงต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะอาการชักให้ได้เสียก่อน นั่นเพราะอาการชักมีหลายแบบ ไม่ใช่เพียงแค่อาการชักแบบกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกอย่างเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงอาการชักมีหลายลักษณะด้วยกัน โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ อาการชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง (Generalized…

20 Sep 2017

เลือดกำเดาไหล กรณีไหนที่ถือว่าฉุกเฉิน?

เลือดกำเดาไหล เป็นกรณีที่เชื่อว่าแทบจะทุกคนต้องเคยพบในช่วงหนึ่งของชีวิต จนเราอาจมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วการมีเลือดออกทางจมูกแบบนี้ บางกรณีก็ถือเป็นภาวะฉุกเฉินนะครับ     เมื่อไหร่ที่ไม่ปกติ เลือดกำเดาไหล หรือการมีเลือดออกทางจมูก คือภาวะที่มีเลือดออกจากโพรงจมูกทางส่วนหน้า หรือส่วนหลังของโพรงจมูก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่จะพบได้สูงในเด็กอายุ 2-10 ปี และในวันรุ่นถึงวัยกลางคน…