August 2017

View all on this date written articles further down below.
07 Aug 2017

ไม่ใช่แค่ความอ้วนที่เป็นปัญหา แต่ผอมไปก็เป็นปัญหาได้เหมือนกันนะ

เป็นเรื่องจริง (ที่น่าอิจฉา!) ที่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องดิ้นรนกับเรื่องน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และพากันโอดครวญว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนสักที   ถ้าคุณอยู่ในข่ายของคนที่อยากจะเพิ่มน้ำหนัก สิ่งแรกสุดที่คุณควรทำก็คือ การปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อให้ช่วยกันประเมินสุขภาพโดยรวมของคุณเสียก่อน จะได้รู้อย่างชัดเจนว่าคุณจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักหรือไม่ และจะใช้วิธีไหนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ โดยทั่วไปแล้ว วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการเพิ่มน้ำหนักก็คือ การค่อยๆ เพิ่อมปริมาณแคลอรี่ที่คุณกินในแต่ละวัน ด้วยอาหารที่มีแคลอรี่สูงและอุดมด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน (ไก่ ปลา…

07 Aug 2017

เบื่อ ซึมเศร้า เหวี่ยง วีน! ฮอร์โมนทำพิษหรือเปล่า?

“ฮอร์โมน” ที่เราไม่สามารถเห็น สัมผัส ลิ้มรส หรือได้ยิน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพ อารมณ์ และความเป็นอยู่ที่ดีของเรา และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “ฮอร์โมน” ที่เคยมีตามปกติ มีน้อยหรือมากเกินไปในร่างกาย และจะแก้ไขได้ยังไง เรามีบทสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนมาให้แล้ว   เอสโตรเจน มันทำหน้าที่อะไร : เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง…

06 Aug 2017

คุณเครียดโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า?

ความเครียด เป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เพราะเมื่อเกิดความเครียดสมองจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดมากไปบ้าง น้อยไปบ้าง จนก่อให้เกิดการทำงานผิดปกติของระบบในร่างกาย และเกิดอาการบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะเครียดเข้าแล้ว โดยบางอาการเราอาจคิดไม่ถึงว่าสาเหตุของมันมาจากความเครียด!   และนี่คือสัญญาณเตือนบางอย่าง ที่อาจเกิดขึ้นได้หากคุณเครียดเกินไปแล้ว! • รู้สึกปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ หรือปวดศีรษะบ่อยครั้ง • ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่มีแรงจูงใจจะทำอะไรใหม่ๆ บางครั้งจะง่วงนอนและหาวบ่อย • มีอาการท้องร่วง ท้องผูก อย่างผิดปกติ…

06 Aug 2017

เจอแต่เสียงดังๆ ระวังสุขภาพหูกันหน่อย

ถึงแม้เสียงเพลงจะช่วยให้เราคลายเครียดได้เป็นอย่างดี แต่เสียงเพลงที่ดังเกินไปนั้นไม่ดีแน่ครับ หูของคนเรานั้นสามารถที่จะ “ป่วย” ได้ถ้าต้องเผชิญกับเสียงที่ดังเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ และหากมันป่วยหรือสูญเสียการได้ยิน มันก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้ ดังนั้น สุขภาพหูของคนเรานั้ซีเรียสดกว่าที่คิดนะครับ   ความดังของเสียงนั้นวัดกันเป็นเดซิเบลส์ โดยเสียงพูดคุยตามปกติจะดังราว 60 เดซิเบลส์ เสียงเครื่องตัดหญ้าดังราว 90 เดซิเบลส์ และคอนเสิร์ตเพลงร็อคจะดังราว 100-120 เดซิเบลส์…

05 Aug 2017

หัวใจเต้นช้า..ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

โดยปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าปกติในผู้ใหญ่คือ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่ในหมู่นักกีฬาอาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำกว่านี้ได้ เช่น ไมเคิล เฟลพ์ นักว่ายน้ำคนดังเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก มีรายงานว่าอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักของเฟลพ์ช้ากว่าคนปกติถึงครึ่งหนึ่ง   ในกรณีนี้ โธมัส ลี บรรณาธิการวารสาร Harvard Heart Letter ระบุว่า ผู้ที่มีระดับความแข็งแรงทางร่างกายดีเยี่ยม อาจมีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นที่ช้าลงได้…

05 Aug 2017

อย่าปล่อยให้ดวงตาต้องเครียด

ตาแห้ง ตาล้า ไม่ใช่แค่คุณที่เครียดกับการทำงาน ดวงตาของคุณก็เครียดเหมือนกันนะ     หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้สายตาอย่างมากในแต่ละวัน ไปกับการจ้องจอ ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือจอมือถือ และรู้สึกเกิดอาการ ตาแห้ง และ ตาล้า คุณก็อาจมีอาการที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเราจ้องอะไรเป็นเวลานาน…

04 Aug 2017

ท้องเสียกลางที่ทำงาน…พึ่งยาหยุดถ่ายดีมั้ย?

ท้องเสีย..เป็นอาการป่วยเฉียบพลันที่ไม่มีใครคาดคิด โดยเฉพาะเมื่อเกิดในระหว่างเวลาทำงานอย่างนี้ ก็อาจทำให้เราอยากที่จะรีบหยุดอาการท้องเสีย ด้วยการซื้อยาที่ทำให้หยุดถ่ายมากินเอง อย่างเช่นยาหยุดถ่ายที่นิยมใช้กันคือ loperamide ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน     อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรต้องระวังก็คือ เราไม่รู้ว่าอาการท้องเสียเฉียบพลันของเรานั้นมีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ การกินยาหยุดถ่ายจึงอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากทำให้การกำจัดเชื้อโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียช้าลง และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ การซื้อยาหยุดถ่ายมารับประทานเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำด้วยตัวเอง แต่ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้น การดูแลที่ถูกต้องในกรณีท้องเสียก็คือ คือให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายและรสไม่จัด เช่น ข้าวต้ม…

03 Aug 2017

ไขข้อข้องใจที่คุณยังไม่รู้ (แต่ควรรู้) เกี่ยวกับ “พันธุกรรม” กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นพ.ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ พันธุกรรม ในทางการแพทย์ ที่หลายคนยังเข้าใจผิด รวมถึงหลายเรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้ แต่ควรจะได้รับรู้ เพราะนี่คือสิ่งที่อาจพลิกโฉมหน้าของการรักษาพยาบาลอย่างที่คุณคาดไม่ถึง อธิบายอย่างง่ายๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม นพ.ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์   อธิบายเรื่อง พันธุกรรม แบบง่ายๆ “คนเรามีสารพันธุกรรมหรือยีนที่กำหนดลักษณะหลายๆอย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะสีผิว หมู่เลือด ความสูง…

02 Aug 2017

ปวดคอปวดหลังเพราะท่านั่งเป็นเหตุ

ปวดคอ ปวดหลัง ชีวิตคนทำงานคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนั่งติดโต๊ะกันวันละหลายๆ ชั่วโมง และพอนั่งนานเข้า ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเหล่านี้ตามมา   แน่นอนครับว่าบางทีเราก็เลือกไม่ได้ที่จะต้องนั่งกันนานๆ แบบนั้น แต่เราก็ยังมีทางเลือกที่จะดูแลตัวเองจากการที่ต้องนั่งนานๆ ในแต่ละวัน อย่างแรกก็คือการเลือกเก้าอี้ที่เรานั่ง (หากทำได้) นั่นก็คือควรเลือกเก้าอี้ที่มีเบาะรองนั่งขนาดพอดีกับร่างกาย มีความนุ่มพอดี และควรมีพนักพิง ซึ่งสามารถปรับเอนได้ตามน้ำหนักที่ทิ้งลง แต่ไม่ควรเอนมากจนเกินไป ควรมีที่พักคอและศีรษะ เพื่อช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานานๆ…

02 Aug 2017

4 ปัญหาสุขภาพ ทางเดินปัสสาวะ ที่ผู้หญิงพบกันบ่อยที่สุด

ทางเดินปัสสาวะ เป็นระบบขับถ่ายของร่างกาย ที่ถูกออกแบบมาเพื่อขจัดของเสียและสารพิษ (หรือเป็นการทำความสะอาดตามธรรมชาติตามปรกติของคุณ) โชคไม่ดีที่ผู้หญิงมักมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและผลกระทบจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร แต่อย่ากังวลใจ นี่คือทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อรับมือกับทุกปัญหาเกี่ยวกับการ “ฉี่” ของคุณ     1.กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ข้อเท็จจริง : ประมาณหนึ่งในสี่ของผู้หญิงอาจจะปัสสาวะรั่วได้ ถ้าไม่รีบไปเข้าห้องน้ำ สาเหตุทั่วไปส่วนใหญ่คืออะไร? การตั้งครรภ์และการออกกำลังหนักๆ…