สุขภาพใจ

เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทางจิต บทความทางจิตวิทยา self-help, self-improvement

16 Jan 2018

ควรทำอย่างไรเมื่อโดนข่มขืน – คุยกับนักจิตวิทยาเรื่องการเยียวยาจิตใจและการล้างแค้น

ไม่ว่าใครก็คงไม่ชอบการโดนบังคับฝืนใจ หากเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็คงสร้างความอึดอัดในใจช่วงเวลาหนึ่ง แต่หากเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น อย่างการโดนบังคับทั้งทางกายและทางใจ อย่างการโดน ข่มขืน ที่นอกจะสร้างความเจ็บปวดให้ร่างกายแล้ว ยังสร้างบาดแผลในใจที่ร้าวลึกจนยากที่จะอธิบายความเจ็บปวดนี้ การรับมือกับสถานการณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการปฏิบัติกับร่างกายและการเยียวยาจิตใจ ซึ่งเราได้รวบรวมการให้คำแนะนำจากนักจิตวิทยาคลินิก อ. ชลาลัย แต้ศิลปสาธิต นักจิตวิทยาประจำ See Doctor Now…

16 Oct 2017

สุขภาพใจเป็นอย่างไร สุขภาพกายเป็นอย่างนั้น

“ความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้เกิดโรค อาการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้” ประโยคข้างต้นนี้มาจากการศึกษาวิจัย โดยนพ.มาร์ติน พรินซ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ King's College London และทีมงานของเขา เคยสังเกตมั้ยครับว่าในคนสุขภาพดี ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ในขณะที่คนที่มีจิตใจไม่ปกติ อยู่ในอารมณ์เศร้า หดหู่…

12 Oct 2017

ดับ ความโกรธ ก่อนที่มันจะทำลายเรา

ใครๆ ก็เคยโกรธ บางครั้งก็เป็นแค่ ความโกรธ เล็กน้อย แต่บางครั้งก็เป็นความโกรธเกรี้ยวรุนแรง ความโกรธมักเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกหงุดหงิด เจ็บปวด รำคาญ หรือผิดหวัง เป็นความรู้สึกตามปกติที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน ความโกรธอาจทำร้ายเราหรือช่วยเราก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรารับมือกับความโกรธอย่างไร การรับรู้ถึงความโกรธและแสดงออกอย่างเหมาะสม สามารถช่วยให้เราทำตามเป้าหมาย รับมือกับเรื่องฉุกเฉิน และแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อเราไม่รับรู้และเข้าใจความโกรธของตัวเอง การเรียนรู้ที่จะจัดการกับความโกรธ…

16 Sep 2017

โลกที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

“ได้กลับมายิ้มอีกครั้ง กลับมากินข้าวแล้วรู้สึกอร่อย ได้นอนหลับสนิท นอนแล้วรู้สึกสบาย เหมือนว่าได้พักผ่อนจริงๆ แบบที่ไม่ได้ทำมานาน ฟังดูเหมือนมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันรู้สึกดีมาก รู้สึกว่าความมีชีวิตค่อยๆ กลับมาแล้ว”  นี่เป็นความรู้สึกของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า คนหนึ่ง ที่พูดถึงชีวิตและความรู้สึกของเธอในระหว่างการได้รับการรักษา จริงๆ แล้วไม่ง่ายเลย กว่าที่เธอจะรู้สึกอย่างนี้ แม้ว่ามันจะเป็นความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่อาจมองเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้า หรือผู้ป่วยโรคทางอารมณ์อื่นๆ…

15 Sep 2017

เช็คตัวเอง คุณกำลังกลัว หรือวิตกกังวลมากเกินไปรึเปล่า?

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีความวิตกกังวล หรือกลัวในบางสิ่งบางอย่าง แต่ถ้ามันเกิดแทบจะตลอดเวลา หรือเกิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ความรู้สึกเหล่านั้นก็อาจไม่ปกติซะทีเดียว แต่อาจเป็นความผิดปกติบางอย่างของจิตใจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น ความรู้สึกหวาดกลัวในเผชิญหน้าทางสังคมบางอย่าง หรือความวิตกกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับสุขภาพ การงาน หรือครอบครัว ความกลัวหรือวิตกกังวลที่ระดับที่ไม่ปกติมีได้หลายแบบ มาลองเช็คกันดูหน่อยว่า ความกลัวหรือวิตกกังวลของคุณนั้นเป็นในเรื่องใด และมันยังอยู่ในระดับที่สามารถรับมือได้เอง หรือต้องอาศัยความช่วยเหลือจากมืออาชีพแล้ว? โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety…

13 Sep 2017

กลัวการเข้าสังคม เรื่อง (มี) จริงที่ไม่ควรมองข้าม

ไม่ใช่แค่เด็กๆ เท่านั้นที่รู้สึก กลัวการเข้าสังคม และกังวลเมื่อต้องเผชิญกับคนที่ไม่คุ้นเคย แต่ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่เองก็มีอาการนี้เช่นเดียวกัน และค่อนข้างรุนแรงกว่าด้วย นั่นคือรู้สึกอัดอัด เครียด และวิตกวังกล ประหม่า กลัว จนไปถึงกับมีอาการสั่น อาการนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการใช้ชีวิต การทำงาน ไปจนถึงการพบปะเจอะเจอผู้คน และการพบกับประสบการณ์ดีๆ อีกหลายอย่าง สำหรับบางคนอาจแก้ปัญหาโดยหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมไปอย่างสิ้นเชิง แต่อย่าลืมว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตลอดเวลา จะดีกว่ามั้ยถ้าหากเรารักษาอาการนี้ให้หายขาด…

12 Sep 2017

เอาชนะความซึมเศร้า เราต้องเผชิญหน้ากับมัน

เคยกลั้นหัวเราะหรือกลั้นร้องไห้กันมั้ยครับ แม้ว่าอารมณ์ความรู้สึกทั้งสองจะต่างกัน เรียกได้ว่าเป็นด้านตรงข้าม แต่ก็เป็นการกลั้นการแสดงความรู้สึกเหมือนกัน ทั้งกลั้นหัวเราะและกลั้นร้องไห้ต่างก็ทรมานไม่ใช่น้อยเลยใช่มั้ยครับ พอแต่ได้หัวเราะออกมาดังๆ หรือร้องไห้ปล่อยให้น้ำตาได้ไหลออกมาแล้ว ความทรมานเหล่านั้นได้หายไป กลายเป็นความรู้สึกที่ดีขึ้นที่ได้ระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกแบบไหน หากได้ระบายออกมาก็จะดีขึ้นทั้งนั้นครับ โดยเฉพาะความรู้สึกเศร้าเสียใจ ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานของคนเราอยู่แล้ว ความเศร้าเป็นความเจ็บปวดทางอารมณ์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งการโดนเอารัดเอาเปรียบ การสูญเสียสิ่งของหรือบุคคลสำคัญ ความสิ้นหวัง การไร้ความช่วยเหลือ และความเสียใจ…

24 Aug 2017

การรับฟัง คือความเข้าใจ และหมายความถึงความรัก

การรับฟัง อาจจะฟังดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ แต่ที่จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง และมักจะถูกละเลยอย่างไม่น่าเชื่อ   ในการดำเนินชีวิตทุกๆ วัน เราต้องเผชิญกับเรื่องราวต่างๆ มากมาย บางเรื่องทำให้ชีวิตมีความสุขสดใส แต่บางเรื่องก็แสนจะหนักอึ้งอยู่ในใจ ทำให้เครียดและวิตกกังวลกับมัน และเมื่อจมอยู่กับความรู้สึกหนักอึ้งเช่นนั้นเป็นเวลานาน ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ และเกิดคำถามว่าจะจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น และผ่านมันไปให้ได้อย่างไร   การรับฟัง และการพูดคุย…

07 Aug 2017

เบื่อ ซึมเศร้า เหวี่ยง วีน! ฮอร์โมนทำพิษหรือเปล่า?

“ฮอร์โมน” ที่เราไม่สามารถเห็น สัมผัส ลิ้มรส หรือได้ยิน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพ อารมณ์ และความเป็นอยู่ที่ดีของเรา และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “ฮอร์โมน” ที่เคยมีตามปกติ มีน้อยหรือมากเกินไปในร่างกาย และจะแก้ไขได้ยังไง เรามีบทสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนมาให้แล้ว   เอสโตรเจน มันทำหน้าที่อะไร : เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง…

12 Jul 2017

ประโยชน์ของทรีทเมนท์ออนไลน์เมื่อใช้กับ “โรคซึมเศร้า”

ถึงทุกวันนี้ “โรคซึมเศร้า” กลายเป็นปัญหาของสุขภาพจิต ที่หลายคนเริ่มตื่นตัวกับมันมากขึ้นแล้ว แม้จะยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจถึงโรคนี้อย่างถ่องแท้ แต่จำนวนของผู้ที่เข้าสู่การรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง..ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กระนั้นก็ตาม ยังมีปราการหลายอย่างที่ขวางกั้นเราจากการรักษาเยียวยาทางจิตใจเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย หรือความสามารถในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอย่างแท้จริง   แต่มีงานวิจัยชิ้นใหม่ในสหรัฐฯ ที่ชี้ว่า ทางเลือกของการใช้โปรแกรมการบำบัดเยียวยาทางออนไลน์ สามารถช่วยคนที่มีอาการซึมเศร้าแบบอ่อนๆ หรือปานกลางได้   โดย นพ.ชาร์ลส์ โคแรนสกี้…