September 29, 2017 Editorial

Telemedicine ตัวช่วยที่ทำให้ชีวิตผู้ป่วยโรคพาร์กินสันดีขึ้น

พาร์กินสัน เป็นโรคที่พบกันในผู้สูงอายุ ในอัตราที่มากเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์ และถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่ได้สูญเสียความทรงจำแบบเดียวกับอัลไซเมอร์ แต่อาการของโรคก็ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถจะเข้าถึงแพทย์ผู้เชียวชาญทางด้านประสาทวิทยาได้

 

อุปสรรคของการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ

อาจฟังดูเหมือนไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อนะครับว่า ในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และโรคพาร์กินสันก็เป็นหนึ่งในโรคซึ่งมีการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ไม่เคยได้รับการดูแลจากแพทย์ด้านประสาทวิทยา

นี่เป็นผลจากการศึกษาวิจัยโดย ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ในนิวยอร์ก ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Patient-Centered Outcomes Research Institute (PCORI) ซึ่งศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 200 คน

งานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Neurology ยังพบด้วยว่า ผู้ที่ได้พบกับแพทย์ทางด้านประสาทวิทยา มีแนวโน้มที่จะเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการป่วยเนื่องมาจากโรคพาร์กินสันน้อยลง สามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้น และมีแนวโน้มน้อยลงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

การเข้าถึงผู้เชียวชาญผ่านทาง Telemedicine

ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ จึงได้ออกโปรแกรมบริการ Telemedicine ฟรี ให้แก่ผู้ป่วย พาร์กินสัน 500 คน ในเขตชนบทรอบๆ นิวยอร์ก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Greater Rochester Health Foundation, Edmond J. Safra Foundation และ Parkinson’s Disease Care, New York (PDCNY) โดยมุ่งที่จะช่วยเหลือผู้ที่ไม่เคยได้มีโอกาสพบกับแพทย์เฉพาะทาง ได้พบกับแพทย์เฉพาะทางผ่านทาง Telemedicine

นอกจากนี้การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันในแบบดั้งเดิม ที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องเดินทางมาพบแพทย์ ซึ่งบ่อยครั้งต้องเดินทางไกล ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่การพบแพทย์ผ่าน Telemedicine ได้ทำลายอุปสรรคขวากหนามทางภูศาสตร์ และทำให้คนไข้ได้รับการดูแลโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ ที่พวกเขาไม่เคยได้พบมาก่อน ในบ้านของตัวเอง

โปรแกรมนี้นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ยังทำให้คุณภาพการรักษาดีขึ้น และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็ดีขึ้นด้วย

ซึ่งงานวิจัยก็พบว่า 97 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มีความพึงพอใจอย่างมากกับการหาหมอแบบเสมือนจริงผ่านทาง Telemedicine และ 55 เปอร์เซ็นต์พึงพอใจมากกว่าหาไปพบแทย์แบบตัวต่อตัว ส่วนแพทย์ด้านประสาทวิทยาที่ร่วมในโปรแกรมนี้มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ก็แสดงถึงความพึงพอใจอย่างมากในแบบการรักษาผ่านทาง Telemedicine

ความจริงแล้ว ประเด็นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ การศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับโรคเรื้อรังหลายโรค ที่ใช้การแพทย์แบบ telemedicine ชี้ว่ามันสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหลาย และสำหรับผู้ป่วยโรค พาร์กินสัน การศึกษาชิ้นนี้ก็พิสูจน์ได้ว่า การดูแลผ่านทาง Telemedicine ก็ดีพอๆ กับการรักษาแบบตัวต่อตัว และยังช่วยกำจัดอุปสรรค์ที่ทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันไม่สามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญลงได้ด้วย

ถึงแม้งานวิจัยนี้จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่เชื่อได้ว่า ปัญหาของการไม่สามารถเข้าถึงแพทย์เฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตามนั้น เป็นปัญหาอย่างเดียวกับที่พบได้ในประเทศไทยเรา

และก็โชคดีเช่นกันที่ว่า “ตัวช่วย” อย่าง Telemedicine ได้ขยายขอบข่ายมาสู่คนไทยแล้วในปัจจุบัน ด้วยพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตและระบบการสื่อสาร ที่ทำให้คนเราสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตกันได้ง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการสื่อสารก็สูงขึ้น สามารถต่อติดกันได้ผ่านระบบวิดีโอคอลล์ จากทุกหนทุกแห่งและทุกเวลาที่ต้องการ

ความก้าวหน้าของการสื่อสารเช่นนี้ ทำให้ระบบ Telemedicine กำลังเริ่มลงหลักปักฐานในบ้านเราอย่างแข็งแรงมากขึ้น และ See Doctor Now ก็ถือเป็นผู้ให้บริการ Telemedicine เจ้าแรกของเมืองไทย ที่นอกจากจะมีแพทย์เฉพาะทางทั้งโรคกายและโรคใจแบบครบถ้วนแล้ว ยังจะมีการขยายบริการด้านสุขภาพอย่างรอบด้าน แบบเดียวกับ “โรงพยาบาล” แต่เป็น “โรงพยาบาลเสมือนจริง” ที่คุณสามารถรับบริการได้จากที่บ้านของตัวเอง

Telemedicine และ See Doctor Now พร้อมเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพของทุกคนอยู่แล้วครับ

 

Source: mhealthintelligence.com

https://mhealthintelligence.com/news/parkinsons-patients-doctors-find-value-in-telehealth-visits