การตรวจร่ายกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเราทุกคนในการดูแลรักษาสุภาพนะครับ และหนึ่งในสิ่งที่เราต้องตรวจและจับตาดูก็คือ “ ระดับน้ำตาลในเลือด ”
ซึ่งหาก ระดับน้ำตาลในเลือด สูงขึ้นกว่าระดับปกติ ก็อาจบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เซลร่างกายมีความผิดปกติ ในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับผิดปกติ
โดยระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ในปัจจุบันหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ได้ใช้ระดับน้ำตาลในที่ >126 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณมาตรวจวัดโดยไม่ได้อดอาหารมาก่อน ก็จะใช้ค่า 200 มก./ดล.เป็นเกณฑ์
การที่ใช้ตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์วัด มาจากการที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญสมาคมเบาหวานแห่ง สหรัฐฯ ได้พิจารณางานวิจัยที่มีทั้งหมดก่อนปี ค.ศ.1999 เพื่อหาว่าโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นที่ระดับเท่าใด และพบว่าโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเร็วที่สุด ก็คือจอประสาทตาเสื่อมนั้น จะเกิดขึ้นได้ที่ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มก./ดล. จึงใช้ตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ชี้วัดระดับน้ำตาลในเลือด
ซึ่งในประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และสำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ใช้ตัวเลข 126 มก./ดล. เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ครับ
แต่สิ่งที่เราทุกคนควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของตัวเลขนี้ก็คือ ถึงแม้ตัวเลขนี้อาจทำให้เรามีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวานได้แล้ว แต่ระดับน้ำตาลนี้อาจไม่ทำให้เราเกิดอาการใดๆ เลยก็เป็นได้
โดยปกติแล้ว อาการของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก หิวมากกว่าปกติ น้ำหนักลด อ่อนเพลียง่าย สมาธิไม่มี ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว ติดเชื้อบ่อย คลื่นไส้ เวียนหัว หงุดหงิด แผลหายช้า คันผิวหนัง คันช่องคลอด ฯลฯ มักจะเริ่มสังเกตได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า200 มก./ดล.
ทั้งนี้เพราะไตสามารถเก็บกักกลูโคสได้มากที่สุดประมาณ 160-180 มก./ดล. เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่านี้ กลูโคสเป็นสารที่ดูดน้ำเอาไว้ จึงพาเอาน้ำและเกลือแร่อย่างอื่น เช่น โซเดียม ขับออกมาเป็นปัสสาวะจำนวนมากกว่าปกติ จะสังเกตได้ง่ายคือแม้ไม่ได้ดื่มน้ำในขณะหลับ ก็ยังต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ส่วนอาการทางอารมณ์และสมอง ก็เกิดจากความหนืดของเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสมองสามารถสังเกตได้ค่อนข้างไวนั่นเอง
และเมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่านี้เป็นระยะนานๆ ก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่นหลอดเลือดแดงของหัวใจ หลอดเลือดแดงของสมอง โรคความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม และไขมันสูง
ดังนั้น สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์ 126 มก./ดล. ซึ่งอาจไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ ก็ควรเริ่มต้องมีมาตรการเพื่อทำให้ระดับน้ำตาลของเราต่ำกว่า 126 ได้แล้วนะครับ